วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เจ็บหน้าอก : เวลานั้นสำคัญไฉน?




โดย รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของบ้านเรา โดยที่บางครั้งผู้ป่วยไม่เคยมีอาการเตือนของโรคหัวใจนำมาก่อน เข้าโรงพยาบาลอย่างปัจจุบันทันด่วนด้วยอาการเจ็บหน้าอกจนบางครั้งถึงกับหัวใจหยุดเต้น อันเป็นผลมาจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจโดยเฉียบพลันหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที มีโอกาสเสี่ยงชีวิตสูง ทุกๆนาทีมีความหมายสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ อัตราเสียชีวิตจะสูงขึ้นเมื่อการรักษาล่าช้า

จากข้อมูลทะเบียนผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของประเทศไทยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง จะอัตราการเสียชีวิตจะอยู่ที่ 7% แต่หากการรักษาล่าช้าเกิน 12 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตถึง 25% ซึ่งเพิ่มมากกว่า 3 เท่าตัว




โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย รวมทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เล็งเห็นความสำคัญของผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงได้มีโครงการทางด่วนพิเศษสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลันขึ้น ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันทีที่มาถึงห้องฉุกเฉิน หากพบว่าอาการเจ็บหน้าอกและคลื่นไฟฟ้าหัวใจเข้าได้กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะได้รับการทำบัลลูนขยายหลอดเลือดทันที ไม่ว่าท่านจะมาโรงพยาบาลในเวลากลางคืนหรือวันหยุดราชการ ไม่ว่าท่านจะยากดีมีจน ก็จะได้รับการรักษาโดยเท่าเทียมกัน

หากท่านมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเฉียบพลัน อย่างนิ่งนอนใจคิดว่าไม่เป็นอะไร ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อจะได้รับการรักษาที่ทันท่วงที แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การป้องกันโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ อาหารไขมันสูง รักษาภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม หมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ ท่านก็จะปลอดจากโรคหัวใจ



Italian Food Recipe
Recipes To Make Chocolate Moose Munch
All Cabbage Soup Recipes
Easy Cocktail Recipes
Halloween Recipes Fun
Macaroni And Cheese Recipes
Recipies For Marinating Mushrooms
Tropical Drink Recipes
Easy Lsd Recipe
Easy Pumpkin Pie Recipes

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น